ชื่อวิทยาศาสตร์ :   สะเดาไทย Azadirachta indica var.siamensis
                           สะเดาอินเดีย Azadirachta indica
                           สะเดาช้าง Azadirachta excelsa
ชื่อสามัญ :    neem
วงศ์ (Family) :    Meliaceae
ชื่ออื่น :   สะเลียม (ภาคเหนือ) กะเดา ไม้เดา เดา (ภาคใต้) กะเดา กาเดา (ภาคอีสาน)

   
  ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยแหลม (แต่สะเดาไทยปลายทู่กว่าสะเดาอินเดีย) โคนใบเบี้ยว ฐานใบเยื้องกัน ใบสะเดาไทยขมน้อยกว่า สะเดาอินเดียออกดอกแน่นกว่า ก้านดอกสั้นกว่าสะเดาอินเดีย
ส่วนขยายพันธุ์ เมล็ดและการตอน
ส่วนที่ใช้ ใบ, ผล, เมล็ด, และเนื้อในเมล็ด
สารออกฤทธิ์ azadirachtin
   
  สารสกัดจากสะเดา สามารถควบคุมศัตรูพืชได้ต่างกัน ดังนี้
ได้ผลดี หนอนกระทู้ผัก, หนอนกระทู้หอม, หนอนใยผัก, หนอนแก้วส้ม, หนอนชอนใบ, เพลี้ยอ่อน, เพลี้ยไก่แจ้, หนอนบุ้ง
ได้ผลปานกลาง หนอนเจาะสมอฝ้าย, หนอนเจาะผลเขือยาว, หนอนเจาะยอดคะน้า, หนอนเจาะดอกกล้วยไม้, เพลี้ยไฟ, เพลี้ยจั๊กจั่นฝ้าย, แมลงหวี่ขาว, ไรแดง
ได้ผลน้อย ตัวเต็มวัยหมัดกระโดด, ไรสนิม, มวนเขียว
  วิธีใช้
ส่วนเมล็ด  >> นำเมล็ดแก่ประมาณ 1 กิโลกรัมมาบดและแช่น้ำ 20 ลิตรทิ้งไว้ 12 - 24 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำ ฉีดพ่นในแปลงพืช  ทุก 6- 10 วัน ในช่วงเวลาเย็น
ใบสด >> นำใบสด ประมาณ 2 กิโลกรัม มาบดหรือโขลกละเอียด แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง นำน้ำหมักมาฉีด ไล่แมลงในแปลงปลูกพืช ทุก 6- 10 วัน ในช่วงเวลาเย็น
สะเดาบด  >> 
       นาข้าว : ใช้สะเดาบด 10 กก./ไร่ หว่านในนาข้าวทุก ๆ 30 วัน
       แปลงข้าวโพด : ใช้สะเดาบด 10 กรัม/ต้น หยอดยอดข้าวโพด
       แปลงผัก : ใช้สะเดาบด 10 กรัม รองก้นหลุม ในผักกาดหัว มันเทศ
 
 

คุณสมบัติของสารสกัดจากสะเดา

1. ยับยั้งการกินอาหารของแมลง
2. มีสารขับไล่แมลง
3. ยับยั้งการเจริญเติบโต/ลอกคราบของแมลง
4. ยับยั้งการวางไข่
5. ระงับการสร้างสารไคติน
6. รบกวนการผสมพันธุ์
7. ทำให้หนอนไม่กลืนอาหาร

 
  บรรณานุกรม
ขวัญชัย สมบัติศิริ.2542.หลักการและวิธีการใช้สะเดาป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ โครงการเกษตรกู้ชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 1 32 หน้า.
ลาวัลย์ จีระพงษ์ . 2542. การเตรียมและการใช้พืชสมุนไพรในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช. สถาบันส่งเสริมเกษตรชีวภาพ และโรงเรียนเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร. 47 หน้า